เมนู

แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเรา แต่ในที่นี้
ควรใช้ในอรรถ 2 อย่างคือ มยา สุตํ แปลว่า ข้าพเจ้าสดับแล้ว และ
มม สุตํ แปลว่า การสดับของข้าพเจ้า.

ว่าด้วย สุต ศัพท์



สุต

ศัพท์ในบทว่า สุตํ นี้เป็นทั้งศัพท์มีอุปสรรคและไม้มีอุปสรรค
จำแนกอรรถได้มิใช่น้อย เช่นอรรถว่า การไป ว่าปรากฏแล้ว ว่ากำหนัด ว่า
สั่งสม ว่าขวนขวาย ว่าสัททารมณ์ ที่รู้ได้ด้วยโสต และรู้ตามแนวแห่งโสต
ทวารเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้มีอรรถว่าไป ในประโยคว่า เสนาย
ปสุโต
เป็นต้น แปลว่า เสนาเคลื่อนไป สุตศัพท์มีอรรถว่ามีธรรมอันปรากฏ
แล้ว ในประโยคว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต เป็นต้น แปลว่ามีธรรมอันสดับ
แล้ว เห็นอยู่. สุตศัพท์มีอรรถว่า เปียกชุ่มด้วยราคะและไม่เปียกชุ่มด้วยราคะ
เช่นในประโยคว่า อวสฺสุตา อนวสฺสุตสฺส เป็นต้น แปลว่า ภิกษุณีกำหนัด
ยินดีแล้วต่อบุคคลผู้ไม่กำหนัดยินดีแล้ว. สุตศัพท์มีอรรถว่าสั่งสม ในประโยคว่า
ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ ปสุตํ อนปฺปกํ เป็นต้น แปลว่า บุญมิใช่น้อย อันท่านทั้งหลาย
สั่งสมแล้ว. สุตศัพท์มีอรรถว่า ขวนขวายคือการประกอบเนืองๆ ในฌาน เช่น
ประโยคว่า เย ฌานปสุตา ธีรา เป็นต้น แปลว่า นักปราชญ์ทั้งหลายเหล่าใด
ขวนขวายแล้วในฌาน. สุตศัพท์มีอรรถว่า สัททารมณ์ อันบุคคลพึงรู้ด้วยโสต
เช่น ในประโยคว่า ทิฏฺฐํ สุตํ มุตํ เป็นต้น แปลว่า รูปอันเราเห็นแล้ว
เสียงอันเราฟังแล้ว หมวดสามแห่งธรรมอันเราทราบแล้ว.
สุต ศัพท์นี้ มีอรรถว่ารู้ตามแนวแห่งโสตทวาร และทรงจำตามที่ตน
รู้แล้ว ดังในประโยคว่า สุตธโร สุตสนฺนิจโย เป็นต้น แปลว่า ทรงไว้
ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ แต่ในที่นี้มีอรรถว่าเข้าไปทรงไว้แล้ว หรือว่า การ

เข้าไปทรงไว้ โดยกระแสแห่งโสตทวาร. ก็เมื่ออรรถแห่ง เม ศัพท์ ว่า มยา
ก็จะประกอบเนื้อความได้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว เข้าไปทรงไว้แล้วตามแนว
แห่งโสตทวาร เมื่อเมศัพท์เท่ากับ มม ก็จะประกอบเนื้อความได้ว่า การสดับ
คือ การเข้าไปทรงไว้โดยกระแสแห่งโสตทวารของเรา ดังนี้.
บรรดาบททั้ง 3 เหล่านี้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ บทว่า เอวํ เป็น
บทแสดงกิจ ของวิญญาณ โสตวิญญาณเป็นต้น. บทว่า เม เป็นบทแสดงถึง
บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง ด้วยวิญญาณอันคนสดับมาแล้ว. บทว่า สุตํ เป็น
บทแสดงถึงการรับไว้โดยไม่หย่อนไม่ยิ่งและไม่วิปริต โดยความเป็นผู้ไม่ปฏิเสธ
ต่อการไม่ได้ฟังมา. อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นบทประกาศภาวะที่วิถีวิญญาณนั้น
เป็นไปโดยกระแสแห่งโสตทวารเป็นธรรมชาติเป็นไปในอารมณ์โดยประการ
ต่าง ๆ. บทว่า เม เป็นบทประกาศตน. บทว่า สุตํ เป็นบทประกาศธรรม.
ก็ในพระบาลีนี้ มีความสังเขปดังนี้ว่า ข้าพเจ้า มิได้กระทำสิ่งอื่น นอกจาก
สิ่งนี้ คือ ว่าข้าพเจ้าสดับธรรมนี้มา ด้วยวิญญาณวิถีอันเป็นไปในอารมณ์มี
ประการต่าง ๆ. อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นบทประกาศธรรมที่ควรชี้แจง. บทว่า
เม เป็นบทประกาศบุคคล. บทว่า สุตํ เป็นบทประกาศกิจ คือ หน้าที่ของ
บุคคล. สุตะ บทนี้ มีอรรถาธิบายว่า ข้าพเจ้าจักแสดงซึ่งสูตรอันใด สูตร
อันนั้นข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้. อนึ่ง บทว่า เอวํ นี้เป็นบทชี้แจงโดย
อาการต่าง ๆ แห่งจิตตสันดานซึ่งเป็นตัวถือเอาอรรถะ และพยัญชนะต่าง ๆ
โดยลักษณะที่เป็นไปด้วยอาการต่าง ๆ เพราะเอวํบทนี้เป็นศัพท์แสดงถึงบัญญัติ
ของอาการ. บทว่า เม เป็นบทแสดงถึงผู้กระทำ. บทว่า สุตํ เป็นบทแสดง
ถึงอารมณ์. ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นภาวะที่จิตตสันดานเป็นไปโดยอาการ
ต่างๆกัน กระทำการสันนิษฐานในการรับอารมณ์ของผู้กระทำความพร้อมเพรียง
กันในจิตตสันดานนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอวํ แสดงหน้าที่ของบุคคล.

บทว่า สุตํ แสดงหน้าที่ของวิญญาณ. บทว่า เม แสดงถึงบุคคลซึ่งประกอบ
หน้าที่ทั้งสอง. ก็ในพระบาลีนี้ มีเนื้อความย่อว่า ข้าพเจ้าผู้เป็นบุคคล พร้อม
ด้วยวิญญาณอันมีการสดับมาเป็นกิจ (หน้าที่) ได้สดับมาแล้วโดยโวหารว่า
สวนกิจ อันได้มาแล้วเนื่องด้วยวิญญาณ ดังนี้. บรรดาบททั้ง 3 นั้น บทว่า
เอวํ และ เม เป็นอวิชชมานบัญญัติ ด้วยอำนาจแห่งสัจฉิกัตถะ และปรมัตถ-
สัจจะ. อันที่จริง ในพระบาลีนี้ มีข้อที่ควรจะชี้แจงว่า เอวํ ก็ดี เม ก็ดี
ว่าโดยปรมัตถ์ มีอยู่อย่างไร. บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ เพราะอารมณ์
ที่ได้ทางโสตในที่นี้นั้น มีอยู่โดยปรมัตถ์. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอวํ และ
เม เป็นอุปาทาบัญญัติ เพราะเป็นถ้อยคำอันบุคคลพึงกล่าว อาศัยเอาสิ่งนั้น ๆ.
บทว่า สุตํ เป็นอุปนิธานบัญญัติ เพราะเป็นถ้อยคำอันบุคคลพึงกล่าว เทียบ
เคียงซึ่งอารมณ์ทั้งหลายมีทิฏฐารมณ์เป็นต้น.
ก็ในพระบาลีนั้น ท่านพระอานนท์ ย่อมแสดงความไม่ลุ่มหลงไว้
ด้วยคำว่า เอวํ เพราะผู้หลงแล้วย่อมไม่สามารถแทงตลอดได้โดยประการต่างๆ
และย่อมแสดงความไม่ฟั่นเฟือนแห่งถ้อยคำที่ท่านได้สดับมาไว้ด้วยคำว่า สุตํ
เพราะว่า ถ้าบุคคลมีถ้อยคำที่ได้สดับฟังมาหลงลืมไปย่อมจะไม่ทราบชัดว่า คำ
นี้ ข้าพเจ้าได้สดับฟังมาแล้ว โดยระหว่างกาล ด้วยอาการอย่างนี้ พระอานนท์
นี้ จึงชื่อว่า มีความสำเร็จทางปัญญาเพราะความไม่ลุ่มหลงและมีความสำเร็จ
ทางสติเพราะความไม่ฟั่นเฟือน.
ในความสำเร็จ 2 อย่างนั้น ถ้าสติมีปัญญาเป็นประธาน ก็สามารถทำ
การกำหนดได้แน่นอนในพยัญชนะ. ถ้าปัญญามีสติเป็นประธาน ก็สามารถแทง
ตลอดในอรรถะ ก็เพราะประกอบด้วยความสามารถแห่งธรรมทั้งสองนั้น
ท่านพระอานนท์ จึงได้นามว่า ธรรมภัณฑาคาริก (ขุนคลังแห่งพระธรรม)
เพราะสามารถที่จะอนุรักษ์คลังพระธรรมให้สมบูรณ์ ด้วยอรรถะ และพยัญชนะ.

อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงโยนิโสมนสิการไว้ด้วยคำว่า เอวํ
เพราะผู้ไม่มีโยนิโสมนสิการ ย่อมไม่สามารถแทงตลอดได้โดยประการต่าง ๆ.
ย่อมแสดงความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยคำว่า สุตํ นี้ เพราะจิตที่ฟุ้งซ่าน
มีการฟังไม่ได้ จริงอย่างนั้น บุคคลมีจิตฟุ้งซ่านแม้ผู้อื่นพูดให้สมบูรณ์ทุก
อย่าง ก็ยังกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ขอจงพูดอีก.
ก็บรรดาคุณธรรม 2 อย่างนั้น เมื่อว่าโดยโยนิโสมนสิการ พระ-
อานนท์ย่อมให้สำเร็จซึ่งอัตตสัมมาปณิธิ และบุพเพกตบุญญตา เพราะบุคคล
ผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบและมิได้ทำบุญไว้ในกาลก่อนแล้ว จะมีโยนิโสมนสิการไม่ได้.
ว่าโดยความไม่ฟุ้งซ่าน ท่านพระอานนท์ย่อมให้สำเร็จซึ่งสัทธัมมัสสวนะและ
สัปปุริสูปัสสยะ เพราะผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ย่อมไม่อาจเพื่อสดับฟัง และผู้ไม่มี
อุปนิสัยก็ไม่มีการคบหากับสัตบุรุษ.
อีกนัยหนึ่ง ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า เพราะบทว่า เอวํ ย่อมแสดง
ไขถึงอาการต่าง ๆ แห่งจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับเอาอรรถและพยัญชนะ
ต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยอาการต่าง ๆ กัน ก็ลักษณะอาการอันเจริญอย่างนี้นั้น
ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้ทำบุญไว้ในปางก่อน ฉะนั้น
ท่านพระอานนท์ จึงแสดงสมบัติ คือ จักร 2 ข้อ เบื้องปลายของท่าน ด้วย
อาการอันเจริญ ด้วยคำว่า เอวํ นี้. ย่อมแสดงสมบัติ คือ จักร 2 ข้อเบื้องต้น
โดยการประกอบการสดับฟังด้วยคำว่า สุตํ นี้. จริงอยู่ เมื่อบุคคลอยู่ในถีนฐาน
อันมิใช่ปฏิรูปเทส หรือเว้นจากการคบสัตบุรุษ ย่อมไม่มีการสดับฟัง. โดยนัยนี้
อาสยสุทธิ (คือความสำเร็จแห่งอัธยาศัย) ย่อมเป็นอันสำเร็จแก่ท่านเพราะ
ความสำเร็จแห่งจักร 2 ข้อ เบื้องปลาย. ปโยคสุทธิ (คือความสำเร็จแห่ง
ปโยคะ) ย่อมเป็นอันสำเร็จเพราะจักร 2 ข้อ เบื้องต้น. ก็ด้วยความบริสุทธิ์
แห่งอาสยะนั้น ท่านจึงเป็นผู้เฉลียวฉลาดเฉียบแหลมในการบรรลุมรรคผล.

เพราะความบริสุทธิ์แห่งปโยคะนั้น ท่านจึงเป็นผู้เฉลียวฉลาดยิ่งในพระปริยัติ.
ด้วยเหตุนี้ ถ้อยคำของท่านพระอานนท์ผู้มีปโยคะและอาสยะบริสุทธิ์แล้ว ผู้
สมบูรณ์แล้วด้วยการบรรลุมรรคผล ย่อมสมควรเพื่อเป็นถ้อยคำเบื้องต้นสำหรับ
รองรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนการขึ้นไปแห่งอรุณ
เป็นเบื้องต้น แห่งพระอาทิตย์กำลังอุทัยอยู่ และเปรียบเหมือน โยนิโสมนสิการ
เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เหตุดังนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อจะเริ่ม
ตั้งคำอันเป็นนิทานในฐานะอันควร จึงกล่าว บทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น.
อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือ อรรถ
ปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตนด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดได้
โดยประการต่าง ๆ ว่า เอวํ นี้. ท่านย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือ ธรรมปฏิสัมภิทา
และนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่งธรรมอัน
บุคคลพึงสดับฟังว่า สุตํ นี้.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อจะกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงโยนิโสมนสิการ
ด้วย เอวํ นี้. จึงแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ ข้าพเจ้าแทงตลอด
ดีแล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้. เมื่อกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงการประกอบการฟังด้วย
สุตํ นี้ จึงแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว ทรงจำไว้แล้ว
สั่งสมไว้แล้วด้วยปัญญา ดังนี้. เมื่อท่านจะแสดงอรรถและพยัญชนะให้บริบูรณ์
ด้วยคำแม้ทั้ง 2 นั้น ย่อมให้การเอื้อเฟื้อในการที่จะให้การฟังเกิดขึ้น เพราะว่า
เมื่อบุคคลไม่ฟังธรรมอันบริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อเคารพย่อม
เป็นผู้เหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุนี้ บุคคลพึงให้ความ
เอื้อเฟื้อเคารพในการฟังธรรมให้เกิดขึ้นเถิด.
อนึ่ง ด้วยคำทั้งสิ้นว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ตั้ง
ธรรมอันพระตถาคตประกาศแล้วไว้สำหรับตน จึงชื่อว่า ย่อมก้าวล่วงภูมิของ

อสัตบุรุษ เมื่อปฏิญาณความเป็นสาวก ชื่อว่า ย่อมก้าวลงสู่ภูมิแห่งสัตบุรุษ.
ท่านพระอานนท์ ย่อมยังจิตของท่านให้หลีกออกจากอสัทธรรม และให้จิต
ของท่านดำรงไว้ในพระสัทธรรม โดยทำนองนั้นเหมือนกัน เมื่อท่านแสดงว่า
ก็พระดำรัสนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นนั่นแหละ ข้าพเจ้าได้ฟังมา
อย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเปลื้องตนออก ย่อมแสดงอ้างพระศาสดา
ย่อมยังพระดำรัส ของพระชินเจ้าให้แนบสนิท ย่อมยังธรรมเนติให้ดำรงอยู่.
อีกอย่างหนึ่ง พระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญญา (ไม่รับรอง) ซึ่งความที่
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าเป็นธรรมอันตนให้เกิดขึ้นได้เอง เปิดเผย
การได้ฟังมาตั้งแต่เบื้องต้น ด้วยบทว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมยัง
ความไม่มีศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาสมบัติในธรรมนี้ให้เกิดขึ้นแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดำรัสนี้ ข้าพเจ้าได้รับมาเฉพาะต่อพระพักตร์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณ 4 ผู้ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณ
ผู้ดำรงอยู่ในอาสภฐาน (ฐานะอันประเสริฐ) ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่า
สรรพสัตว์ ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี ผู้มีธรรม
ดังประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐคือพระธรรมให้เป็นไปทั่ว
ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้น ในพระดำรัสนี้ใคร ๆ ไม่ควรทำความ
สงสัย หรือเคลือบแคลงในอรรถในธรรม ในบทหรือในพยัญชนะ ดังนี้
ด้วยเหตุนี้นั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์จึงประพันธ์คำอันเป็นคาถาไว้ว่า
วินาสยติ อสฺสทฺธํ สทฺธํ วฑฺเฒติ สาสเน
เอวมฺเม สุตมิจฺเจตํ วทํ โคตมสาวโก.
ท่านพระอานนท์ผู้เป็นสาวกของ
พระสมณโคดม กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ย่อมยังความ
เป็นผู้ไม่มีศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธา
สมบัติให้เจริญในพระพุทธศาสนา ดังนี้.


ว่าด้วย เอกํ สมยํ



บทว่า เอกํ แสดงการกำหนดจำนวน. บทว่า สมยํ แสดงสมัย
(คือ เวลา) ที่กำหนดไว้แล้ว. บทว่า เอกํ สมยํ แสดงสมัยอันกำหนดไว้ไม่
แน่นอน.
สมยศัพท์ ในบทว่า สมยํ นี้ ข้าพเจ้าเห็นใช้ในอรรถว่า ความ
พร้อมเพรียงกัน ในอรรถว่าขณะ ในอรรถว่ากาลเวลา ในอรรถว่าประชุม ใน
อรรถว่าเหตุและทิฏฐิ ในอรรถว่าได้เฉพาะ ในอรรถว่าละ ในอรรถว่า
แทงตลอด
จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นี้ มีอรรถว่าพร้อมเพรียงกัน เช่นในประโยค
ว่า อปฺเปว นาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลญฺจ สมยญฺจ อุปาทาย
ดังนี้เป็นต้น แปลว่า หากว่าพวกเราอาศัยกาลเวลา และความพร้อมเพรียงกัน
ได้แล้ว ก็พึงเข้าไปในวันพรุ่งนี้.
สมยศัพท์ มีอรรถว่าขณะ เช่นในประโยคว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว
ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย
เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ขณะหนึ่ง สมัยหนึ่ง มีอยู่เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์.
สมยศัพท์ มีอรรถว่า กาลเวลา เช่นในประโยคว่า อุณฺหสมโย
ปริฬาหสมโย
เป็นต้น แปลว่า เวลาร้อน เวลากระวนกระวาย.
สมยศัพท์ มีอรรถว่าประชุม เช่นในประโยคว่า มหาสมโย ปวนสฺมึ
เป็นต้น แปลว่า ประชุมใหญ่ในป่าใหญ่.